ในแวดวงนักสะสมเหรียญพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า มีเหรียญสำคัญอยู่เหรียญหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่า หาชมได้ยากยิ่ง ถึงขนาดที่ว่า แม้แต่ ภาพเหรียญ ก็ยังหาดูไม่ได้เลย ตามหน้าหนังสือพระเครื่อง หรือตำราหนังสือเหรียญในเมืองไทย เหรียญที่ว่านี้ คือ เหรียญพระสังวรานุวงศ์เถระ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า เหรียญสังวราชุ่ม วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี
นับเป็นเหรียญของสำนักตักศิลา ในเชิงวิชาการศึกษาของพระคุณเจ้าในยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งได้สร้างบุคลากรสำคัญๆ เอาไว้ในบวรพระพุทธศาสนามานานปี
เหรียญสังวราชุ่ม วัดพลับ ที่ว่าหาดูได้ยากนี้ เป็นเหรียญที่ระลึก ออกในงานพระราชทานเพลิงศพของ พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ลักษณะ เหรียญ เป็นเหรียญรูปวงรี (รูปไข่) หูเชื่อม มี ๒ พิมพ์ พิมพ์หนึ่งด้านหน้า มีรูปพระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ครึ่งองค์ ด้านหลัง เขียนเป็นตัวขอมอ่านว่า "พุทโธ" และอักษรไทยอ่านว่า "ที่รฤกในงานศพ พระสังวรานุวงษ์เถร ๒๔๗๐"
ส่วนเหรียญอีกพิมพ์หนึ่ง ด้านหน้าเขียนเป็นตัวขอมอ่านว่า "พุทโธ" ด้านหลังเหรียญ มีตัวอักษรไทยอ่านว่า "ที่รฤก ในงานศพ พระวรานุวงษ์เถร พ.ศ.๒๔๗๐"
ทั้ง ๒ เหรียญนี้มีข้อแตกต่างกันตรงตัวหนังสือไทย ที่เขียนว่า "พระสังวรานุวงษ์" พิมพ์แรกเขียนถูก ส่วนพิมพ์ที่ ๒ เขียนว่า "พระวรานุวงษ์" ขาดคำว่า "สัง" ไป
เหรียญนี้มีแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อยู่ ๒ พิมพ์ จึงขอนำภาพเหรียญทั้ง ๒ พิมพ์นี้มาลงให้พิจารณากันทีละพิมพ์ ดังนี้
เหรียญ พิมพ์ที่ ๑ ผู้เขียนให้ชื่อว่า พิมพ์หลับตา ลักษณะของภาพพระสังวราฯ ที่เห็นอยู่ด้านหน้าเหรียญนั้น นายช่างแกะเหรียญแบบไม่ปรากฏลูกนัยน์ตา มองดูเหมือนท่านกำลังหลับตา
ว่ากันทางด้านของเชิงช่าง เหรียญนี้มีความงดงามทางด้านของศิลปะการแกะแม่พิมพ์มาก จนหลายท่านในวงการยกให้เป็นเหรียญยอดเยี่ยมของศิลปะการออกแบบเหรียญหนึ่ง ที่พบเห็นไม่บ่อยนัก ในบรรดาเหรียญพระเกจิอาจารย์ทั่วๆ ไป
ส่วน เหรียญพิมพ์ที่ ๒ นายช่างแกะเหรียญโดยมีรูปแบบและลักษณะอาการแตกต่างไปจากเหรียญพิมพ์แรก โดยรูปของท่านเจ้าคุณพระสังวราฯ (ชุ่ม) พิมพ์ที่ ๒ นี้ นายช่างแกะแบบมีเม็ดตา อาการในลักษณะเช่นนี้ขอตั้งชื่อเหรียญพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ลืมตา เพื่อสะดวกในการเรียกหา ในพิมพ์ทรงของเหรียญรุ่นนี้
นอก จากนี้ เหรียญรุ่นนี้ยังมีส่วนที่ได้แยกพิมพ์ อีกอย่างก็คือ เหรียญพิมพ์นี้ปรากฏว่า นายช่างแกะองค์ท่านมีมือ ซึ่งทำอาการประสานกัน ลักษณะแบบการคุมสมาธิ
ซึ่งต่างจากพิมพ์ที่ ๑ ซึ่งมีแค่ครึ่งองค์ อันเป็นลักษณะการออกแบบของช่าง ที่เรียกว่าแบบพอร์เทรต (portrait) แม้เหรียญทั้ง ๒ พิมพ์นี้ จะมีความแตกต่างกันบ้างในเชิงช่างการออกแบบ แต่ทางด้านฝีมือการแกะเหรียญ ถือว่า วิเศษเลอเลิศด้วยกันทั้งคู่ ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
นับเป็นเหรียญของสำนักตักศิลา ในเชิงวิชาการศึกษาของพระคุณเจ้าในยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งได้สร้างบุคลากรสำคัญๆ เอาไว้ในบวรพระพุทธศาสนามานานปี
เหรียญสังวราชุ่ม วัดพลับ ที่ว่าหาดูได้ยากนี้ เป็นเหรียญที่ระลึก ออกในงานพระราชทานเพลิงศพของ พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ลักษณะ เหรียญ เป็นเหรียญรูปวงรี (รูปไข่) หูเชื่อม มี ๒ พิมพ์ พิมพ์หนึ่งด้านหน้า มีรูปพระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ครึ่งองค์ ด้านหลัง เขียนเป็นตัวขอมอ่านว่า "พุทโธ" และอักษรไทยอ่านว่า "ที่รฤกในงานศพ พระสังวรานุวงษ์เถร ๒๔๗๐"
ส่วนเหรียญอีกพิมพ์หนึ่ง ด้านหน้าเขียนเป็นตัวขอมอ่านว่า "พุทโธ" ด้านหลังเหรียญ มีตัวอักษรไทยอ่านว่า "ที่รฤก ในงานศพ พระวรานุวงษ์เถร พ.ศ.๒๔๗๐"
ทั้ง ๒ เหรียญนี้มีข้อแตกต่างกันตรงตัวหนังสือไทย ที่เขียนว่า "พระสังวรานุวงษ์" พิมพ์แรกเขียนถูก ส่วนพิมพ์ที่ ๒ เขียนว่า "พระวรานุวงษ์" ขาดคำว่า "สัง" ไป
เหรียญนี้มีแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อยู่ ๒ พิมพ์ จึงขอนำภาพเหรียญทั้ง ๒ พิมพ์นี้มาลงให้พิจารณากันทีละพิมพ์ ดังนี้
เหรียญ พิมพ์ที่ ๑ ผู้เขียนให้ชื่อว่า พิมพ์หลับตา ลักษณะของภาพพระสังวราฯ ที่เห็นอยู่ด้านหน้าเหรียญนั้น นายช่างแกะเหรียญแบบไม่ปรากฏลูกนัยน์ตา มองดูเหมือนท่านกำลังหลับตา
ว่ากันทางด้านของเชิงช่าง เหรียญนี้มีความงดงามทางด้านของศิลปะการแกะแม่พิมพ์มาก จนหลายท่านในวงการยกให้เป็นเหรียญยอดเยี่ยมของศิลปะการออกแบบเหรียญหนึ่ง ที่พบเห็นไม่บ่อยนัก ในบรรดาเหรียญพระเกจิอาจารย์ทั่วๆ ไป
ส่วน เหรียญพิมพ์ที่ ๒ นายช่างแกะเหรียญโดยมีรูปแบบและลักษณะอาการแตกต่างไปจากเหรียญพิมพ์แรก โดยรูปของท่านเจ้าคุณพระสังวราฯ (ชุ่ม) พิมพ์ที่ ๒ นี้ นายช่างแกะแบบมีเม็ดตา อาการในลักษณะเช่นนี้ขอตั้งชื่อเหรียญพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ลืมตา เพื่อสะดวกในการเรียกหา ในพิมพ์ทรงของเหรียญรุ่นนี้
นอก จากนี้ เหรียญรุ่นนี้ยังมีส่วนที่ได้แยกพิมพ์ อีกอย่างก็คือ เหรียญพิมพ์นี้ปรากฏว่า นายช่างแกะองค์ท่านมีมือ ซึ่งทำอาการประสานกัน ลักษณะแบบการคุมสมาธิ
ซึ่งต่างจากพิมพ์ที่ ๑ ซึ่งมีแค่ครึ่งองค์ อันเป็นลักษณะการออกแบบของช่าง ที่เรียกว่าแบบพอร์เทรต (portrait) แม้เหรียญทั้ง ๒ พิมพ์นี้ จะมีความแตกต่างกันบ้างในเชิงช่างการออกแบบ แต่ทางด้านฝีมือการแกะเหรียญ ถือว่า วิเศษเลอเลิศด้วยกันทั้งคู่ ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก